โครงสร้างการบริหาร
งานบริหารบุคคล
งานการคลัง
งานพัสดุและงานจัดเก็บรายได้
งานงบประมาณ
งานนโยบายและแผน
งานกิจการสภา
งานส่งเสริมการเกษตร
ส่วนการศึกษา
งานสวัสดิการสังคม
งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ระบบ MIS
การให้บริการ
ปฏิทินกิจกรรม
ธันวาคม 2566
อา พฤ
26 27 28 29 30 1 2
3 4 5 6 7 8 9
1011 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
31 1 2 3 4 5 6
วันที่ 10 ธันวาคม 2566
แบบสำรวจความคิดเห็น
ท่านคิดว่า อบต.หลุมข้าว ควรให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากที่สุด
เด็ก- เยาวชน
สตรี
คนชรา
คนพิการ
อบต.ในเครือข่าย

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
ออนไลน์ทั้งหมด 2 คน
หมายเลข IP 3.238.180.174
คุณเข้าชมลำดับที่ 2,991,902

ศูนย์ช่วยเหลือประชาชน


  หน้าแรก     ระเบียบคณะกรรมการกองทุน 

ระเบียบคณะกรรมการกองทุน
ระเบียบคณะกรรมการกองทุน  

 

ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
องค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว พ.ศ.2554
*****************************
                                ตามที่ องค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว  อำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา  ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   (สปสช.)  ได้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นขึ้น เพื่อให้การบริหารและการใช้จ่ายงบประมาณ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว เป็นไปด้วยความโปร่งใส มีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ ตลอดจนมีระเบียบรองรับการดำเนินงานคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ   คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว   จึงออกระเบียบไว้ดังนี้
 
                ข้อ 1       ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว  พ.ศ. 2554
                ข้อ 2       ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
                ข้อ 3       ให้ประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว   รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
                ข้อ 4       ที่ตั้ง ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
 
หมวดที่ 1
ข้อความทั่วไป
 
                ข้อ 5       ในระเบียบนี้
                                (1) องค์การบริหารส่วนตำบล หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมาย          ว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
                                (2) กองทุนหลักประกันสุขภาพ      หมายความว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
                                (3) คณะกรรมการ    หมายความว่า   คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
                                (4) สถานบริการ      หมายความว่า    สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ของเอกชน และของสภากาชาดไทย หน่วยบริการการประกอบโรคศิลปะสาขาต่างๆ และสถานบริการสาธารณสุขอื่นที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม
                                (5) หน่วยบริการ    หมายความว่า     สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
 
หมวดที่ 2
วัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว
 
                ข้อ 6       เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข ของหน่วยบริการหรือสถานบริการอื่น รวมทั้งสถานบริการทางเลือก โดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
                ข้อ 7       เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพ  ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ อย่างน้อยตามประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
                ข้อ 8       เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กลุ่มประชาชนหรือองค์กรประชาชนในพื้นที่จัดทำกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่
                ข้อ 9       เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนหลักประกันสุขภาพในรอบปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน 20,000 บาทต่อหน่วย
                ข้อ 10     เพื่อให้เกิดการพัฒนาสุขภาพของคนในท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของบุคคลในท้องถิ่นหรือพื้นที่
 
หมวดที่ 3
คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว
 
                ข้อ 11     คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว ประกอบด้วย
                                (1) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว                                เป็นประธานกรรมการ
                                (2) ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ จำนวน 2 คน                                          เป็นรองประธานกรรมการ
                                (3) สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล                    
                                       ที่สภามอบหมายจำนวน 2 คน                                             เป็นกรรมการ
                                (4) หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่                                     เป็นกรรมการ
                                (5) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่
                                       ที่คัดเลือกกันเอง จำนวน 4  คน                                            เป็นกรรมการ
                                (6) ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชนที่ประชาชนในหมู่บ้าน
                                       หรือชุมชนคัดเลือกกันเอง จำนวน 8  คน                            เป็นกรรมการ
                                (7) ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน
                                       หรือศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอิสระในพื้นที่ หน่วยละ 1 คน                เป็นกรรมการ
                                (8) ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว                  เป็นกรรมการและเลขานุการ
                                (9) เจ้าหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย                                    เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
 
                                การคัดเลือกกรรมการกรณีผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ ให้กรรมการประชุมคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ ซึ่งมีความรู้ความสามารถเป็นที่เคารพนับถือและเป็นที่ยอมรับในพื้นที่จำนวน 2 คน
                                การแต่งตั้งคณะกรรมการในกรณีหัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ หมายถึงหัวหน้าสถานีอนามัยหรือผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่มีหน่วยบริการปฐมภูมิ (เช่น ศูนย์แพทย์ชุมชน) หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีศูนย์บริการสาธารณสุขที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จึงจะเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิตามประกาศ และหัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขนั้น จะเป็นกรรมการบริหารกองทุนโดยตำแหน่งด้วย ทั้งนี้จำนวนกรรมการต้องเท่ากับจำนวนหน่วยบริการปฐมภูมิที่ตั้งอยู่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล
                                การคัดเลือกกรรมการจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่และผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชนที่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน คัดเลือกกันเองให้องค์การบริหารส่วนตำบลจัดประชุมเพื่อให้บุคคลในแต่ละกลุ่มได้คัดเลือกกันเอง   ด้วยวิธีการที่เห็นสมควร เพื่อให้ได้กรรมการตามจำนวนที่กำหนดไว้
                                การคัดเลือกผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน หรือศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอิสระในพื้นที่ เป็นกรรมการเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน หรือศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอิสระตั้งอยู่ในพื้นที่เท่านั้น ให้มีผู้แทนของศูนย์ดังกล่าวเป็นกรรมการด้วยศูนย์ละหนึ่งคน    ในกรณีประธานกรรมการไม่มี หรือมี แต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการ      ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้ตามลำดับ
                                คณะกรรมการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี (นับจากวันที่ สปสช. ออกคำสั่งแต่งตั้ง) หากครบ 2 ปีแล้ว   ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ ให้คณะกรรมการที่ครบวาระนั้น อยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินการต่อไปจนกว่าคณะกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
                                กรณีที่กรรมการในตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชนที่ประชาชนในหมู่บ้าน หรือชุมชนคัดเลือกกันเอง ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน หรือศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอิสระในพื้นที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้มีการคัดเลือกผู้แทนเป็นกรรมการในตำแหน่งที่ว่างโดยให้มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลือของกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง สำหรับนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ และปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (กรณีได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการโดยตำแหน่ง) หากมีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งดังกล่าว ถือว่าเป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตำแหน่ง ดังนั้นจึงไม่ต้องส่งรายชื่อมาขอรับการแต่งตั้งอีก
                                นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการที่มาจากการคัดเลือกตามข้อ 12 ลำดับที่ (2) , (3) , (6) และ (7) พ้นจากตำแหน่งในกรณีดังต่อไปนี้
(1)       ตาย
(2)       ลาออก
(3)       ย้ายไปดำรงตำแหน่งหรือประกอบวิชาชีพหรืออาชีพในท้องถิ่นหรือพื้นที่อื่น
(4)       เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(5)       เป็นบุคคลล้มละลาย
 
หมวดที่ 4
อำนาจหน้าที่
 
                ข้อ 12     คณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
                                (1)บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
                                (2) รับผิดชอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล ให้เป็นไปตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
                                (3) ดำเนินการให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในความรับผิดชอบสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งที่บ้าน ในชุมชนหรือหน่วยบริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
                                (4) จัดทำข้อมูลและแผนดำเนินงานที่เกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุข กลุ่มเป้าหมายและหน่วยบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
                                (5) จัดทำสรุปผลการดำเนินงาน รายงานการรับจ่ายและเงินคงเหลือของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อสิ้นปีงบประมาณ เพื่อเสนอสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและองค์การบริหารส่วนตำบล ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
                                (6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินงานที่เกี่ยวข้องได้ตามความจำเป็น
 
หมวดที่ 5
รายได้หรือทรัพย์สินในกองทุน
 
                ข้อ 13     เงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย
                                (1) เงินค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนของการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
                                (2) เงินอุดหนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
                                (3) เงินสมทบจากชุมชนหรือกองทุนชุมชน
                                (4) รายได้อื่นๆ หรือทรัพย์สินที่ได้รับมาในกิจการของกองทุนหลักประกันสุขภาพ
 
หมวดที่ 6
การบริหารงบประมาณ การรายงานการเงิน
 
                ข้อ 14     การบริหารจัดการด้านการเงินของกองทุนต้องปฏิบัติตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องแนวทางการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในระบบหลักประกันสุขภาพ   ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2552   หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท.0891.3/ว 1110 ลงวันที่ 3 เมษายน 2550 ซึ่งมีกำหนดไว้ ดังนี้
                                (1) แหล่งที่มาของเงินกองทุน เงินหรือทรัพย์ของกองทุนได้มาจาก
                                                1.1 เงินค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งจะมีประกาศอัตราการสนับสนุนเป็นรายปี
                                                1.2 เงินที่ได้รับการสมทบจากองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลต้องตั้งงบประมาณสมทบตามประกาศฯ ของ สปสช. โดยองค์การบริหารส่วนตำบลต้องตั้งงบประมาณสมทบไว้ในรายจ่ายงบกลาง ประเภทรายจ่ายตามข้อผูกพัน โดยเขียนคำชี้แจงเงินสมทบกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรือหากไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ให้พิจารณาโอนงบประมาณที่เหลือจ่าย หรือที่ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ไปตั้งจ่าย
                                                1.3 เงินสมทบจากชุมชนหรือกองทุนชุมชน
                                                1.4 รายได้อื่นๆ หรือทรัพย์สินที่ได้รับมาจากการดำเนินกิจการของกองทุน
                              ทั้งนี้ เงินรายรับตาม ข้อ 1.1 – 1.4 ต้องนำส่งเข้าบัญชีเงินฝากของกองทุน
                                การเปิดบัญชีของกองทุน ให้เปิดไว้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร       (ธ.ก.ส.) ประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
                                ในการเปิดบัญชีของกองทุน คณะกรรมการต้องมอบหมายให้ประธานกรรมการและกรรมการอื่นอีก 3 คน รวมเป็น 4 คน ร่วมกันลงนามในการเปิดบัญชี สำหรับการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีแต่ละครั้ง ต้องให้กรรมการ 2 ใน 4 คน ที่ร่วมกันลงนามเปิดบัญชีเป็นผู้ร่วมกันลงนามในการเบิกจ่ายตามจำนวนที่คณะกรรมการอนุมัติ
                                (2) การรับเงินของกองทุน
                                การรับเงินเข้าเป็นเงินของกองทุนให้รับใน  4  ลักษณะ ดังนี้
                                                2.1 เงินสดหรือการรับเงินโดยการโอนผ่านทางธนาคาร
                                                2.2 เช็ค
                                                2.3 ตั๋วแลกเงิน
                                                2.4 ธนาณัติ
                                เมื่อกองทุนได้รับเงินตามข้อ 2.1 – 2.4 แล้ว ให้คณะกรรมการมอบหมายให้กรรมการคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้รับผิดชอบนำเงินส่งเข้าบัญชีเงินฝากของกองทุนภายใน 3 วันทำการธนาคาร
                                (3) หลักฐานในการรับเงินของกองทุน
                                                3.1 ในการรับเงินจากบุคคล    กลุ่มบุคคล    หรือนิติบุคคล    กองทุนต้องออกใบเสร็จรับเงินในนามของคณะกรรมการ   ให้กับผู้ชำระเงินทุกครั้ง สำหรับแบบฟอร์มใบเสร็จรับเงิน ให้คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดแบบขึ้นเอง
                                                3.2 การรับเงิน ค่าบริการสาธารณสุข จาก สปสช.  ให้ใช้หนังสือแจ้งการโอนจาก สปสช. เป็นหลักฐาน แล้วออกใบเสร็จรับเงินตามข้อ 1.1 แล้วส่งใบเสร็จรับเงินไปที่ สำนักบริหารกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาคาร B ชั้น 2-4 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 ทั้งนี้ หนังสือแจ้งการโอนสามารถดาวน์โหลดได้ที่  http://www.nhso.go.th  เลือกเมนูสำหรับผู้ให้บริการ แล้วเลือกเมนูย่อย NHSO budget เลือกรายงานการจ่ายเงินกองทุน เลือกปีงบประมาณที่ต้องการทราบ
                                                3.3 การรับเงินสมทบจากองค์การบริหารส่วนตำบล ให้ใช้สำเนาใบนำฝากเงินของธนาคารเป็นหลักฐาน แล้วออกใบเสร็จรับเงินตามข้อ (2)   ส่งให้องค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าวที่เป็นเจ้าของงบประมาณ
                                ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจกำหนดให้มีหลักฐานการรับเงินในรูปแบบอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร
                              (4) การสั่งจ่ายเงิน
                                คณะกรรมการกองทุนเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายเงินของกองทุน ภายใต้กรอบแผนงาน หรือโครงการหรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติของคณะกรรมการ โดยมีการแยกประเภทรายจ่ายตามกิจกรรม 4 ประเภท ดังนี้
                                4.1 ค่าใช้จ่ายเพื่อจัดซื้อชุดสิทธิประโยชน์
                                4.2 ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนแก่หน่วยบริการ
                                4.3 ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนองค์กร ภาคี ภาคประชาชน ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค
                                4.4 ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริหารจัดการกองทุน
                                ในการปฏิบัติงานจริง การกำหนดประเภทรายจ่ายต่างๆ จะถูกกำหนดมาตั้งแต่ในขั้นตอนของการอนุมัติแผนงานโครงการแ
เอกสารประกอบ
สายตรงผู้บริหาร

ดาบตำรวจเริงศักดิ์ เข็มทอง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว
084-8269444
ความรู้เกี่ยวกับ อบต.
เว็บไซต์ท้องถิ่นไทย
เว็บไซต์บริการ
กฎหมายน่ารู้
ระบบสารสนเทศ
แบบสอบถาม
ข้อมูล ITA
ข้อมูล ITA
เฟสบุ๊ค
ประกาศเจตนารมณ์ (No Gift Policy)
ศูนย์ช่วยเหลือประชาชน
ประกาศช่องทางการแจ้งเบาะแสป้ายโฆษณารุกล้ำทางสาธารณะ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
ร้องเรียนการทุจริต
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ฐานข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open data)
งานกฎหมายและระเบียบ
พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติราชการ
คู่มือการปฏิบัติงานรับเรื่องราวร้องทุกข์
 
องค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว
บ้านท่ากระสัง หมู่ที่ 4 ตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา 30160
Tel : 0-4436-7093 , 08-1725-7645   Fax : 0-4436-7093
Email : lumkhaw@hotmail.com
Copyright © 2023 by OPSTECH All Right Reserved.